วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

คำเป็น คำตาย


คำเป็น คำตาย
        คำเป็น  
                ๑. เป็นคำที่ผสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น ป้า มี ปู
                ๒. เป็นคำที่มีตัวสะกดอยู่ในแม่กง กน กม เกย เกอว เช่น จง มั่น ชม เชย ดาว
        คำตาย
                ๑. เป็นคำที่ผสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น จะ ปะ ทุ
                ๒. เป็นคำที่มีตัวสะกดในแม่ กก กด กบ เช่น นัด พบ นก

ตัวอย่างคำเป็น

แม่ ก กา  >>  ยา  จ๋า  มี  ดู  โบ  โหล  แก้  เปล  หารือ  เธอ   ฯลฯ

แม่  กง    >>   บ่าง  สิง  ฟุ้ง  โลง  แห้ง   เก้ง   อึ้ง  หนึ่ง   เพลิง  ฯลฯ

แม่  กน    >>   ฝัน  สาร   กาฬ   กัลป์   ญาณ   (สา)มัญ   เทอญ   (ส)วรรค์   บรร(ทม)   ฟืน  ฯลฯ

แม่  กม    >>   ยำ  (มีเสียงตัวสะกด แม่ กม)   กรรม  เกม   โสม   เทอม   เริ่ม   ดื่ม   สัม(ฤทธิ์)   สาม   ริม   ซึม   เล็ม   แกรม    ทูม   ก้อม   ฯลฯ

แม่  เกย    >>   ไกล   ให้   ไสย  (มีเสียงตัวสะกด แม่ เกย)   ควาย   โบย  เฉยเมย       ฯลฯ

แม่  เกอว    >>   เต่า   (มีเสียงตัวสะกด แม่ เกอว)   แมว  เหมียว  เคี้ยว  ข้าว  แล้ว  เอว   ฉิว   ฯลฯ

ตัวอย่างคำตาย

แม่ ก กา  >>   นะคะ   จ๊ะ  จ้ะ   มิ   เลอะเทอะ  เตะ  แปะ  จุ  โต๊ะ  เหาะ  ฯลฯ

แม่  กก    >>   รัก  วรรค   นาค   เมฆ   แยก   ฤกษ์   สุข   โภค   ฯลฯ

แม่  กด    >>   เทิด  เดช   (บัณ)ฑิต  เลศ   กิเลส   เหตุ   สบถ  ประดิษฐ์    อิฐ   โกศ   ครุฑ   ก๊าซ   ฟอส(ฟอ)รัส  พิษ  ฯลฯ

แม่  กบ    >>   นิพ(พาน)   ลพ    เสพ    โลภ     สาป   ยิป(ซี)   กราบ  ยับ    ฯลฯ





ภาษาไทยถิ่นใต้

ภาษาไทยถิ่นใต้
ภาษาไทยถิ่นใต้
ภาษาไทยถิ่นใต้ เป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคใต้ของประเทศไทย นับแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซียรวม 14จังหวัดและบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อีกทั้งบางหมู่บ้านในรัฐกลันตัน รัฐปะลิสและรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย ภาษาไทยถิ่นใต้มีเพียงภาษาพูดเท่านั้น ไม่มีตัวอักษรเขียนเฉพาะ
พูดใน:                     ภาคใต้ ของประเทศไทย
จำนวนผู้พูด:           5,000,000 คน
ตระกูลภาษา:         ไท-กะไดคำ-ไทบี-ไทไท-แสก, ไทไทตะวันตกเฉียงใต้ไทใต้ภาษาไทยถิ่นใต้ 
อักษรเขียน:            ไม่มีอักษรเขียน
สำเนียงย่อย
ภาษาไทยถิ่นใต้แยกออกเป็น กลุ่ม คือ
   ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก (สำเนียงนครศรีธรรมราช)
ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก ได้แก่ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดกันมากทางฝั่งตะวันออกของปักษ์ใต้ บริเวณจังหวัด นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี (อำเภอโคกโพธิ์อำเภอแม่ลานอำเภอหนองจิก และ อำเภอเมือง) ตรัง สตูล (และในรัฐปะลิส-หมู่บ้านควนขนุน บ้านตาน้ำ,ในรัฐเคดาห์-บ้านทางควาย บ้านบาลิ่ง ) ภาษาไทยถิ่นใต้ที่ใช้ในกลุ่มนี้ จะมีลักษณะของภาษาที่คล้ายคลึงกัน (ตรัง และสตูล แม้จะตั้งอยู่ฝั่งทะเลตะวันตก แต่สำเนียงภาษา ถือเป็นกลุ่มเดียวกับพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช คือ ออกเสียงตัวสะกด ก.ไก่ ได้ชัดเจน)
  ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก
ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี และชุมพร ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดเหล่านี้ จะมีลักษณะเด่นที่คล้ายคลึงกัน เช่นออกเสียงคำว่า แตก เป็น แตะ ดอกไม้ เป็น เดาะไม้ สามแยก เป็น สามแยะ ฯลฯ (สำเนียงนครศรีธรรมราช กลุ่มฉวาง พิปูน ทุ่งใหญ่ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาหลวง ก็อยู่ในกลุ่มนี้ ส่วนจังหวัดชุมพร และจังหวัดสุราษฎร์ธานี แม้จะตั้งอยู่ฝั่งทะเลตะวันออก แต่สำเนียงภาษาถือเป็นกลุ่มเดียวกับจังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต คือ ออกเสียงตัวสะกด ก.ไก่ ไม่ได้)
  ภาษาถิ่นใต้สำเนียงสงขลา
ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลา ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดสงขลา
  ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห
ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี (เฉพาะ อำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ และอำเภอสายบุรีรวมทั้งในเขตรัฐกลันตันของมาเลเซีย ในหมู่บ้านที่พูดภาษาไทย จะใช้ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห
ในเขตจังหวัดนราธิวาส เนื่องมีคนในจังหวัดอื่นๆ มาอาศัยหรือทำงานในจังหวัดนราธิวาส จึงนำภาษาไทยถิ่นใต้ของแต่ละจังหวัดมาพูดกันในจังหวัดนราธิวาส ส่วนใหญ่จะเป็นคนไทยถิ่นใต้จากจังหวัดพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช คนนราธิวาส จึงมีภาษาไทยสำเนียง คือ ภาษาไทยถิ่นใต้ สำเนียง เจ๊ะเห และสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียง เจะเห มักพูดกันในกลุ่มเครือญาติ หรือตามชนบทของนราธิวาส แต่ในเมืองมักจะพูดสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก
ตัวอย่างคำศัพท์
พืช ผัก ผลไม้
มะม่วงหิมพานต์     = กาหยู (เทียบอังกฤษ cashew) , กาหยี (ใช้มากในแถบ ภูเก็ต พังงา คำนี้เข้าใจว่าคนใต้ฝั่งตะวันตกจะรับมาจากฝรั่งโดยตรง ) ยาร่วงย่าโห้ยย่าหวันหัวครก (ใช้มากแถบพัทลุง สงขลา) ม่วงเล็ดล่อท้ายล่อ
ชมพู่                        = ชมโพ่แก้วน้ำดอกไม้ชมโพ่น้ำดอกไม้
ฝรั่ง                          = ชมโพ่ ยาหมู่ หย้ามู้ (คำนี้มาจาก jambu ในภาษามลายู )
ฟักทอง                    = น้ำเต้า
ฟัก                           = ขี้พร้า
ขมิ้น                        = ขี้หมิ้น
ตะไคร้                     = ไคร
พริก                         = ดีปลี โลกแผ็ด ลูกเผ็ด
ข้าวโพด                  = คง (คำนี้มาจาก jagong ในภาษามลายู )
มะละกอ                  = ลอกอ
สับปะรด                   = หย่านัด (คำนี้ ใช้ทั่วไปทั้งภาคใต้ บางครั้งจะออกเสียงเป็นหย่าน-หัดคำ นี้เข้าใจว่าคนใต้รับมาจากฝรั่งโดยตรง โดยฝรั่ง รับมาจากภาษาอินเดียนแดงแถบบราซิล ซึ่งเรียกพันธุ์ไม้ชนิดนี้ว่า อนานัส เมื่อถ่ายทอดเสียงมาถึงปักษ์ใต้ จึงกลายเป็น หย่านัดมะ-หลิ (คำนี้ใช้มากในเขตจังหวัดพัทลุง อำเภอรัตภูมิ อำเภอสทิงพระ และอำเภอระโนด ของจังหวัดสงขลา)
ดอกมะลิ                      = ดอกมะเละ (เสียง อิ แปลงเป็นเสียง เอะ)
แตงโม                         = แตงจีน
ตำลึง                            = ผักหมึง
รสสุคนธ์                      = เถากะปด (ประจวบคีรีขันธ์)ย่านปดปดคาย
หม้อข้าวหม้อแกงลิง    = หม้อลิง
ละมุด                           = ซ่าว้า (คำนี้ใช้เฉพาะในเขตสงขลา สตูล พัทลุง มาจาก sawa ในภาษามลายู) หม่าซี้กู๊ (ใช้เฉพาะเขต พังงา ตะกั่วป่า)
ผลไม้ที่มีคำว่า "มะ" นำหน้า (บางคำ) จะเปลี่ยนเป็น "ลูก" เช่น มะม่วง-ลูกม่วงมะนาว-ลูกนาวมะขาม-ลูกขามมะเขือ-ลูกเขือ เป็นต้น
ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวมักมีคำว่า "ส้ม" นำหน้า เช่น มะขาม-ส้มขามมะนาว-ส้มนาว เป็นต้น

คำทั่วไป
เป็นไงบ้าง/อย่างไรบ้าง   = พรือมังพันพรือมพันพรือมัง (สงขลา จะออกเสียงว่า ผรื่อ เช่น 
  ว่าผรื่อ = ว่าอย่างไร)
ตอนนี้ ปัจจุบัน       = หวางนี่ (คำนี้ใช้ ในภาษาถิ่นใต้ทั่วไป) แหละนี่ (คำนี้จะใช้เฉพาะในเขตอำเภอจะนะ อำเภอนาทวี อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย ของจังหวัดสงขลา และอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี)
โง่                            = โม่โบ่
วัว                            = ฮัว (มาจากคำว่า งัว ในภาษาเก่า เนื่องจากในสำเนียงใต้จะไม่มีเสียง ง. งู แต่จะใช้เสียง ฮ. นกฮูก แทน)
เจ้าชู้                        = อ้อร้อ (จะใช้เฉพาะ กับผู้หญิง เช่น สาวคนนี้ อ้อร้อ จัง คำ ๆ นี้มีความหมายในแง่  ลบ ใกล้เคียงกับคำว่า แรด ในภาษากรุงเทพ)
ทุกข์ ลำบาก             = เสดสา มาจากภาษามลายู  (เช่น ปีนี้เสดสาจัง = ปีนี้ลำบากมาก)
กลับบ้าน                 = หลบบ้านหลบเริน
เยอะๆ หลายๆ        = ลุยจังหูจังเสียกองเอคาเอจังแจ็กจังเสียจ้านกองลุย
ไปไหน มาไหนคนเดียว = มาแต่สวน
แฟน                        = แควน (ฟ จะเปลี่ยนเป็น คว เกือบทุกคำ) ,โม่เด็ก
ตะหลิว                    = เจียนฉี (ภายหลังมีการเพื้ยนในแถบจังหวัดพัทลุงกลายเป็น ฉ่อนฉี (ช้อนฉี))
ชะมด                      = มูสัง มาจากภาษามลายู musang
อร่อย                       = หรอย
อร่อยมาก                = หรอยจังหูหรอยพึดหรอยอีตาย
ไม่ทราบ                  = ม่ารู่ม้าย (คำนี้ใช้ในเขต นครศรีธรรมราช และใกล้เคียง) ไม่โร่ (สำเนียงสงขลา เสียง อู จะแปลงเป็น เสียง โอ เช่น รู้ คนสงขลาจะพูดเป็น โร่คู่ คนสงขลาจะพูดเป็น โค่ต้นประดู่ = ต้นโด ฯลฯ )
ขี้เหร่ไม่สวยไม่งาม = โมระ หรือ โบระ (ออกเสียงควบกล้ำ มากจาก buruk เทียบมลายูปัตตานี ฆอระ)
กังวลเป็นห่วง       = หวังเหวิด (คำนี้มักใช้ในภาษาไทยถิ่นใต้ตอนบน แต่โดยทั่วไปก็เข้าใจในความหมาย) มิมัง (ภาษาไทยถิ่นใต้ ในเขต จะนะ เทพา สะบ้าย้อย)
ศาลา                        = หลา
ภาชนะสำหรับตักน้ำในบ่อ = ถุ้งหมาตักน้ำ บางถิ่นเรียก ตีหมา หรือ ตีมา มาจาก timba ในภาษามลายู
รีบเร่ง ลนลาน         = ลกลัก หรือ ลกลก
อาการบ้าจี้               = ลาต้า
ขว้างออกไป            = ลิวซัด
ซอมซ่อ                   = ม่อร็องร้าย หรือร้ายๆ , หม็องแหม็ง
โลภมาก                  = ตาล่อหาจกตาอยาก
โกรธ                       = หวิบหวี่
โกรธมาก                 = หวิบอย่างแรง หวิบหูจี้
บ๊อง                         = เบร่อเหมฺร่อ ,เร่อ
ทำไม                       = ไซ (หรืออาจออกเสียงว่า ใส)
อย่างไร                   = พันพรือพรือ
โกหก                      = ขี้หกขี้เท็จ
กระท่อม                  = หนำขนำก๋องซี (บ้านพักชั่วคราวซึ่งปลูกขึ้นอย่างง่ายๆ)มาจาก 公司 ในภาษาจีน
อีกแล้ว                     = หล่าว
กะละมัง                  = โคมพุ้น
เลอะเทอะ               = หลูหละซอกปร็อก (มาจากคำว่า สกปรก แต่ออกเสียงสั้นๆ ห้วนๆ กลายเป็น สก-ปรก)
หกนองพื้น             = เพรื่อ
ประจำ                     = อาโหญฺะโหญฺะ (เสียงนาสิก)
ทิ้ง                           = ทุ่ม
อาการขว้างสิ่งของลงบนพื้น = ฟัด (อาจออกเสียงว่า ขวัด)
กัด                           = ขบค็อบคล็อด
กลิ่นที่รุนแรง          = ฉ็อง (ตัวอย่าง "เหม็นฉ็องเยี่ยว" = เหม็นกลิ่นฉี่)
ดื้อรั้น                      = ช็องด็อง
กินไม่หมด              = แหญะ (ข้าวที่เหลือจากการกิน เรียกว่า ข้าวแหญะ)
เอาเงินไปแลก        = แตกเบี้ย (แลกเงินเป็นแบงค์ย่อยสัก 100 บาท เรียกว่า แตกเบี้ยซักร้อยบาท)
สะใจดี                    = ได้แรงอก
เขียง                        = ดานเฉียง
นิ่งเสียนิ่งเดี๋ยวนี้   = แหน่งกึ๊บ (คำนี้ใช้ขู่เด็กขี้แยให้หยุดร้องไห้)
ผงชูรส                     = แป้งหวาน
บริเวณที่ลุ่ม มีน้ำแฉะ = โพระ หรือ พรุ (มาจาก baroh ในภาษามลายู)
กาแฟ                       = กาแควโกปี้ (มาจาก kopi ในภาษามลายู)
การแสดงความเคารพของทหาร ตำรวจ = ตะเบะ (มาจาก tabik ในภาษามลายู)
ก็เพราะว่า                = เบ่อ และใช้แทนคำลงท้าย หรือเป็นคำจบประโยค (เป็นคำที่ใช้กันในอำเภอหาดใหญ่ และใกล้เคียง เป็นคำติดปากที่ใช้เกือบทุดประโยคที่พูด)
คาดว่าน่าจะคงเป็นเช่นนั้น = ส่าหวาสาว่า
เศษเหรียญ              = ลูกกักลูกเหรียญลูกตาง
จะ                           = อี (เช่น จะใช้แล้วเร็วๆหน่อย เป็น อีใช้แล้วแขบๆอิ้ด)
รีบ                           = แขบ
ทำไม                       = ไซ
กระทุ้ง                     = แท่ง
แอบ                         = หยบ
กลับบ้าน                 = หลบเริน
รู้ความ                     = รู้สา
รู้สึก(รังเกียจ)          = สา
กะปิ                         = เคย
น้ำพริก                    = น้ำชุบ
เอาอีกแล้ว               = เอาแหล่วหลาว

สำนวน
ลอกอชายไฟ           = ใช้พูดเพื่อตัดพ้อผู้ที่มองไม่เห็นคุณค่าของตน แต่พอผิดหวังกับคนที่หวังเอาไว้ จึงค่อยหันกลับมาเห็นความสำคัญทีหลัง
ช้างแล่นอย่ายุงหาง = อย่าขัดขวางผู้มีอำนาจ ("แล่น" หมายถึง วิ่ง, "ยุง" หมายถึง พยุง จับหรือดึง)
คุ้ยขอนหาแข็บ       = มีความหมายเดียวกับ "ฟื้นฝอยหาตะเข็บ" ในภาษาไทยกลาง ซึ่งตามพจนานุกรม หมายถึง คุ้ยเขี่ยหาความที่สงบแล้วให้กลับเป็นเรื่องขึ้นมาอีก
อยู่ไม่รู้หวัน            = ใช้ว่าคนที่เฉิ่ม ๆ หรือไม่ค่อยรู้เรื่อวรู้ราว มาจากอยู่ไม่รู้วันไม่รู้คืน ( ส่วนใหญ่จะพูดย่อๆ ว่า อยู่ไม่หวัน )
เหลี่ยมลอกอลิด      = ใช้กับคนที่มีเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราวกคล้ายๆกับมะละกอ ("ลอกอ" หมายถึงมะละกอ) ที่ถูกปอกเปลือก ("ลิด" หมายถึงปอกเปลือก) ซึ่งเมื่อปอกไปมากๆ จะเกิดเหลี่ยมมุมมากขึ้นเรื่อยๆจนนับไม่ถ้วน
ควัดด็องเปล่า           = การกระทำอะไรซึ่งทำแล้วไม่เกิดผลอะไรต่อตนเองเลยแม้แต่น้อยเป็นการเสียแรง เปล่าๆ (เหมือนการฝัดข้าวด้วยกระด้งที่ไม่มีข้าวอยู่เลย "ด็อง" คือกระด้ง)
ทั้งกินทั้งขอ ทั้งคดห่อหลบเริน = การตักตวงผลประโยชน์เข้าตัว ("คดห่อ"หมายถึงการนำข้าวใส่ภาชนะแล้วพาไปไหนมาไหน) เปรียบกับเมื่อบ้านไหนมี งานแล้วจะมีคนที่ทั้งกินส่วนที่เขาให้กิน แล้วยังไปขอเพิ่มและห่อกลับบ้านไปอีก

วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

อักษร

  อักษรสังโยค        อักษรสังโยค หรือหลักตัวสะกดตัวตาม เป็นหลักในการประสมอักษรในภาษาบาลี ช่วยให้เขียนหนังสือใช้ตัวสะกดการันต์ได้ถูกต้อง มีหลักปรากฏดังนี้
       - ถ้าพยัญชนะแถวที่ ๑ เป็นตัวสะกดแถวที่  (หรือแถวตัวเอง) เป็นตัวตาม เช่น
                        บุปผา (ป เป็นตัวสะกด ผ เป็นตัวตาม)
                        อัจฉรา (จ เป็นตัวสะกด ฉ เป็นตัวตาม)
       - ถ้าพยัญชนะแถวที่ ๓ เป็นตัวสะกด แถวที่ ๔ (หรือตัวเอง) เป็นตัวตาม
       - ถ้าพยัญชนะแถวที่ ๕ เป็นตัวสะกดทุกตัวในวรรคตามได้หมด  (รวมทั้งตัวเองด้วย)
                เช่น    สังขาร (ง เป็นตัวสะกด ข เป็นตัวตาม)
                         สัญจร  (ญ เป็นตัวสะกด จ เป็นตัวตาม)
                         สมภพ  (ม เป็นตัวสะกด ภ เป็นตัวตาม)
      - พยัญชนะเศษวรรคที่เป็นตัวสะกดตัวเองตาม คือ ย ล ส
ไตรยางค์        ไตรยางค์ คือ อักษร ๓ หมู่ที่แยกเป็นกลุ่ม ๆ ตามลำดับเสียง
                อักษรสูง มี ๑๑ ตัว คือ  ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห คือ พยัญชนะแถวที่ ๒ จากตารางทั้งหมด เช่น ผี ฝาก ไข่ ใส่ ถุง ให้ ฉัน
                อักษรกลาง มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ คือ พยัญชนะแถวที่ ๑ จากตารางทั้งหมด เช่น ไก่ จิก เด็ก ตาบ บน ปาก โอ่ง
                อักษรต่ำ มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ณ ท ธ ฑ ฒ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ คือ พยัญชนะแถวที่ ๓, ๔ และ ๕
        ประโยชน์ของไตรยางค์ ช่วยในการผันอักษรให้มีเสียง และความหมายใกล้เคียงกับเสียงธรรมชาติมากที่สุด

คำสันธาน

คำสันธาน
 คำสันธาน คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมคำกับคำ เชื่อมประโยคกับประโยค เชื่อมข้อความกับข้อความ หรือข้อความให้สละสลวย
คำสันธานมี 4 ชนิด คือ
          1.เชื่อมใจความที่คล้อยตามกัน ได้แก่คำว่า กับ และ , ทั้ง…และ , ทั้ง…ก็ , ครั้น…ก็ , 
              ครั้น…จึง , พอ…ก็   ตัวอย่างเช่น
พออ่านหนังสือเสร็จก็เข้านอน
พ่อและแม่ทำงานเพื่อลูก
ฉันชอบทั้งทะเลและน้ำตก
ครั้นได้เวลาเธอจึงไปขึ้นเครื่องบิน
          2.เชื่อมใจความที่ขัดแย้งกัน ได้แก่คำว่า แต่ , แต่ว่า , ถึง…ก็ , กว่า…ก็  ตัวอย่างเช่น
กว่าตำรวจจะมาคนร้ายก็หนีไปแล้ว
เขาอยากมีเงินแต่ไม่ทำงาน
ถึงเขาจะโกรธแต่ฉันก็ไม่กลัว
เธอไม่สวยแต่ว่านิสัยดี
          3.เชื่อมใจความเป็นเหตุเป็นผลกัน ได้แก่คำว่า จึง , เพราะ…จึง , เพราะฉะนั้น…จึง ตัวอย่างเช่น
เขาวิ่งเร็วจึงหกล้ม ฉันกลัวรถติดเพราะฉะนั้นฉันจึงออกจากบ้านแต่เช้า
เพราะเธอเรียนดีครูจึงรัก เขาไว้ใจเราให้ทำงานนี้เพราะฉะนั้นเราจะ
เหลวไหลไม่ได้
          4.เชื่อมใจความให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่คำว่า หรือ หรือไม่ก็ , ไม่เช่นนั้น , 
           มิฉะนั้น ตัวอย่างเช่น
เธอต้องทำงานมิฉะนั้นเธอจะถูกไล่ออก
ไม่เธอก็ฉันต้องกวาดบ้าน
นักเรียนจะทำการบ้านหรือไม่ก็อ่านหนังสือ
คุณจะทานข้าวหรือก๋วยเตี๋ยว
หน้าที่ของคำสันธาน
1.เชื่อมคำกับคำ เช่น
ฉันเลี้ยงแมวและสุนัข นิดกับหน่อยไปโรงเรียน
2.เชื่อมข้อความ เช่น
คนเราต้องการปัจจัย 4 ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องประกอบอาชีพเพื่อให้ได้เงินมาซื้อ
3.เชื่อมประโยคกับประโยค เช่น
พี่สาวสวยแต่น้องฉลาด เพราะเขาขยันจึงสอบได้
4.เชื่อมความให้สละสลวย เช่น
เขาก็เป็นคนดีคนหนึ่งเหมือนกัน คนเราก็มีเจ็บป่วยบ้างเป็นธรรมดา

วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

ชนิดและหน้าที่ของประโยค

ชนิดและหน้าที่ของประโยค

ความหมายและส่วนประกอบของประโยค ความหมายของประโยค ประโยค เกิดจากคำหลายๆคำ หรือวลีที่นำมาเรียงต่อกันอย่างเป็นระเบียบให้แต่ละคำมีความสัมพันธ์กัน มีใจความสมบูรณ์ แสดงให้รู้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เช่น สมัครไปโรงเรียน ตำรวจจับคนร้าย เป็นต้น
ส่วนประกอบของประโยค ประโยคหนึ่ง ๆ จะต้องมีภาคประธานและภาคแสดงเป็นหลัก และอาจมีคำขยายส่วนต่าง ๆ ได้

1. 
ภาคประธาน ภาคประธานในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ทำหน้าที่เป็นผู้กระทำ ผู้แสดงซึ่งเป็นส่วนสำคัญของประโยค ภาคประธานนี้ อาจมีบทขยายซึ่งเป็นคำหรือกลุ่มคำมาประกอบ เพื่อทำให้มีใจความชัดเจนยิ่งขึ้น

2. 
ภาคแสดง ภาคแสดงในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ประกอบไปด้วยบทกริยา บทกรรมและส่วนเติมเต็ม บทกรรมทำหน้าที่เป็นตัวกระทำหรือตัวแสดงของประธาน ส่วนบทกรรมทำหน้าที่เป็นผู้ถูกกระทำ และส่วนเติมเต็มทำหน้าที่เสริมใจความของประโยคให้สมบูรณ์ คือทำหน้าที่คล้ายบทกรรม แต่ไม่ใช้กรรม เพราะมิได้ถูกกระทำ
ชนิดของประโยค ประโยคในภาษาไทยแบ่งเป็น ชนิด ตามโครงสร้างการสื่อสารดังนี้

1. 
ประโยคความเดียว ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีข้อความหรือใจความเดียว ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เอกรรถประโยค เป็นประโยคที่มีภาคประโยคเพียงบทเดียว และมีภาคแสดงหรือกริยาสำคัญเพียงบทเดียว หากภาคประธานและภาคแสดงเพิ่มบทขยายเข้าไป ประโยคความเดียวนั้นก็จะเป็นประโยคความเดียวที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

2. 
ประโยคความรวม ประโยคความรวม คือ ประโยคที่รวมเอาโครงสร้างประโยคความเดียวตั้งแต่ ประโยคขึ้นไปเข้าไว้ในประโยคเดียวกัน โดยมีคำเชื่อมหรือสันธานทำหน้าที่เชื่อมประโยคเหล่านั้นเข้าด้วยกัน ประโยคความรวมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อเนกกรรถประโยค ประโยคความรวมแบ่งใจความออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
2.1 
ประโยคที่มีความคล้อยตามกัน ประโยคความรวมชนิดนี้ประกอบด้วยประโยคเล็กตั้งแต่ ประโยคขึ้นไป มีเนื้อความคล้อยตามกันในแง่ของความเป็นอยู่ เวลา และการกระทำ ตัวอย่าง
• 
ทรัพย์ และ สินเป็นลูกชายของพ่อค้าร้านสรรพพาณิชย์
• 
ทั้ง ทรัพย์ และ สินเป็นนักเรียนโรงเรียนอาทรพิทยาคม
• 
ทรัพย์เรียนจบโรงเรียนมัธยม แล้ว ก็ไปเรียนต่อที่วิทยาลัยอาชีวศึกษา
• 
พอ สินเรียนจบโรงเรียนมัธยม แล้ว ก็ มาช่วยพ่อค้าขาย สันธานที่ใช้ใน ประโยค ได้แก่ และทั้ง – และแล้วก็พอ – แล้วก็ หมายเหตุ : คำ แล้ว” เป็นคำช่วยกริยา มิใช่สันธานโดยตรง
2.2 
ประโยคที่มีความขัดแย้งกัน ประโยคความรวมชนิดนี้ ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยค มีเนื้อความที่แย้งกันหรือแตกต่างกันในการกระทำ หรือผลที่เกิดขึ้น ตัวอย่าง
• 
พี่ตีฆ้อง แต่ น้องตีตะโพน
• 
ฉันเตือนเขาแล้ว แต่ เขาไม่เชื่อ
2.3 
ประโยคที่มีความให้เลือก ประโยคความรวมชนิดนี้ ประกอบด้วยประโยคเล็ก ประโยคและกำหนดให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวอย่าง
• 
ไปบอกนายกิจ หรือ นายก้องให้มานี่คนหนึ่ง
• 
คุณชอบดนตรีไทย หรือ ดนตรีสากล
2.4 
ประโยคที่มีความเป็นเหตุเป็นผลแก่กัน ประโยคความรวมชนิดนี้ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2ประโยค ประโยคแรกเป็นเหตุประโยคหลังเป็นผล ตัวอย่าง
• 
เขามีความเพียรมาก เพราะฉะนั้น เขา จึง ประสบความสำเร็จ
• 
คุณสุดาไม่อิจฉาใคร เธอ จึง มีความสุขเสมอ ข้อสังเกต
• 
สันธานเป็นคำเชื่อมที่จ้ำเป็นต้องมีประโยคความรวม และจะต้องใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อความในประโยค ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า สันธานเป็นเครื่องกำหนดหรือชี้บ่งว่าประโยคนั้นมีใจความแบบใด
• 
สันธานบางคำประกอบด้วยคำสองคำ หรือสามคำเรียงอยู่ห่างกัน เช่น ฉะนั้น – จึงทั้ง – และแต่ – ก็ สันธานชนิดนี้เรียกว่า สันธานคาบ” มักจะมีคำอื่นมาคั่นกลางอยู่จึงต้องสังเกตให้ดี
• 
ประโยคเล็กที่เป็นประโยคความเดียวนั้น เมื่อแยกออกจากประโยคความรวมแล้ว ก็ยังสื่อความหมายเป็นที่เข้าใจได้

3. 
ประโยคความซ้อน ประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงใจความเดียว ประกอบด้วยประโยคความเดียวที่มีใจความสำคัญ เป็นประโยคหลัก (มุขยประโยค) และมีประโยคความเดียวที่มีใจความเป็นส่วนขยายส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยคหลัก เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยคหลัก (อนุประโยค) โดยทำหน้าที่แต่งหรือประกอบประโยคหลัก ประโยคความซ้อนนี้เดิม เรียกว่า สังกรประโยค อนุประโยคหรือประโยคย่อยมี ชนิด ทำหน้าที่ต่างกัน ดังต่อไปนี้
3.1 
ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่แทนนาม (นามานุประโยค) อาจใช้เป็นบทประธานหรือบทกรรม หรือส่วนเติมเต็มก็ได้ ประโยคย่อยนี้เป็นประโยคความเดียวซ้อนอยู่ในประโยคหลักไม่ต้องอาศัยบทเชื่อมหรือคำเชื่อม ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่เป็นประโยคย่อยทำหน้าที่แทนนาม
• 
คนทำดีย่อมได้รับผลดี คน...ย่อมได้รับผลดี : ประโยคหลัก คนทำดี : ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทประธาน
• 
ครูดุนักเรียนไม่ทำการบ้าน ครูดุนักเรียน : ประโยคหลัก นักเรียนไม่ทำการบ้าน : ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทกรรม
3.2 
ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายประธานหรือบทขยายกรรมหรือบทขยายส่วนเติมเต็ม (คุณานุประโยค) แล้วแต่กรณี มีประพันธสรรพนาม (ที่ ซึ่ง อัน ผู้) เชื่อมระหว่างประโยคหลักกับประโยคย่อย ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทขยาย
• 
คนที่ประพฤติดีย่อยมีความเจริญในชีวิต ที่ประพฤติ ขยายประธาน คน
คน...ย่อมมีความเจริญในชีวิต : ประโยคหลัก
- (
คน) ประพฤติดี : ประโยคย่อย
• 
ฉันอาศัยบ้านซึ่งอยู่บนภูเขา ซึ่งอยู่บนภูเขา ขยายกรรม บ้าน
ฉันอาศัยบ้าน : ประโยคหลัก
- (
บ้าน) อยู่บนภูเขา : ประโยคย่อย
3.3 
ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายคำกริยา หรือบทขยายคำวิเศษณ์ในประโยคหลัก (วิเศษณานุประโยค) มีคำเชื่อม (เช่น เมื่อ จน เพราะ ตาม ให้ ฯลฯ) ซึ่งเชื่อมระหว่างประโยคหลักกับประโยคย่อย ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทกริยาหรือบทขยายวิเศษณ์
• 
เขาเรียนเก่งเพราะเขาตั้งใจเรียน เขาเรียนเก่ง : ประโยคหลัก
(
เขา) ตั้งใจเรียน : ประโยคย่อยขยายกริยา
• 
ครูรักศิษย์เหมือนแม่รักลูก ครูรักศิษย์ : ประโยคหลัก แม่รักลูก : ประโยคย่อย (ขยายส่วนเติมเต็มของกริยาเหมือน)
หน้าที่ของประโยค ประโยคต่างๆ ที่ใช้ในการสื่อสารย่อมแสดงถึงเจตนาของผู้ส่งสาร เช่น บอกกล่าว เสนอแนะ อธิบาย ซักถาม ขอร้อง วิงวอน สั่งห้าม เป็นต้น หากจะแบ่งประโยคตามหน้าที่หรือลักษณะที่ใช้ในการสื่อสาร สามารถแบ่งออกเป็น ลักษณะ ดังนี้
1. 
บอกเล่าหรือแจ้งให้ทราบ เป็นประโยคที่มีเนื้อความบอกเล่าบ่งชี้ให้เห็นว่า ประธานทำกริยา อะไร ที่ไหน อย่างไร และเมื่อไหร่ เช่น
ฉันไปพบเขามาแล้ว
เขาเป็นนักฟุตบอลทีมชาติ
2. 
ปฏิเสธ เป็นประโยคมีเนื้อความปฏิเสธ จะมีคำว่า ไม่ ไม่ได้ หามิได้ มิใช่ ใช่ว่า ประกอบอยู่ด้วยเช่น
เรา ไม่ได้ ส่งข่าวถึงกันนานแล้ว
นั่น มิใช่ ความผิดของเธอ
3. 
ถามให้ตอบ เป็นประโยคมีเนื้อความเป็นคำถาม จะมีคำว่า หรือ ไหม หรือไม่ ทำไม เมื่อไร ใคร อะไร ที่ไหน อย่างไร อยู่หน้าประโยคหรือท้ายประโยค เช่น
เมื่อคืนคุณไป ที่ไหน มา
เธอเห็นปากกาของฉัน ไหม
4. 
บังคับ ขอร้อง และชักชวน เป็นประโยคที่มีเนื้อความเชิงบังคับ ขอร้อง และชักชวน โดยมีคำอนุภาค หรือ คำเสริมบอกเนื้อความของประโยค เช่น
ห้าม เดินลัดสนาม
กรุณา พูดเบา
สรุป การเรียบเรียงถ้อยคำเป็นประโยคความเดียว ประโยคความรวม และประโยคความซ้อน สามารถขยายให้เป็นประโยคยาวขึ้นได้ด้วยการใช้คำ กลุ่มคำ หรือประโยค เป็นส่วนขยาย ยิ่งประโยคมีส่วนขยายหรือองค์ประกอบมากส่วนเพียงใด ก็จะยิ่งทำให้การสื่อสารเกิดความเข้าใจต่อกันมากขึ้นเพียงนั้น ข้อสำคัญ คือ ต้องเข้าใจรูปแบบประโยค การใช้คำเชื่อมและคำขยาย ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงเจตนาในการส่งสารด้วย ผู้มีทักษะในการเรียบเรียงประโยคสามารถพัฒนาไปสู่การเขียน เล่า บอกเรื่องราวที่ยืดยาวได้ตามเจตนาของการสื่อสาร ดังนั้นผู้ใช้ภาษาจึงต้องศึกษาและทำความเข้าใจโครงสร้างประโยค และวิธีการสร้างประโยคให้แจ่มแจ้งชัดเสียก่อนจะทำให้การสื่อสารเกิดประสิทธิผล และสามารถใช้ภาษาสื่อสารให้เกิดความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น