วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

อักษร

  อักษรสังโยค        อักษรสังโยค หรือหลักตัวสะกดตัวตาม เป็นหลักในการประสมอักษรในภาษาบาลี ช่วยให้เขียนหนังสือใช้ตัวสะกดการันต์ได้ถูกต้อง มีหลักปรากฏดังนี้
       - ถ้าพยัญชนะแถวที่ ๑ เป็นตัวสะกดแถวที่  (หรือแถวตัวเอง) เป็นตัวตาม เช่น
                        บุปผา (ป เป็นตัวสะกด ผ เป็นตัวตาม)
                        อัจฉรา (จ เป็นตัวสะกด ฉ เป็นตัวตาม)
       - ถ้าพยัญชนะแถวที่ ๓ เป็นตัวสะกด แถวที่ ๔ (หรือตัวเอง) เป็นตัวตาม
       - ถ้าพยัญชนะแถวที่ ๕ เป็นตัวสะกดทุกตัวในวรรคตามได้หมด  (รวมทั้งตัวเองด้วย)
                เช่น    สังขาร (ง เป็นตัวสะกด ข เป็นตัวตาม)
                         สัญจร  (ญ เป็นตัวสะกด จ เป็นตัวตาม)
                         สมภพ  (ม เป็นตัวสะกด ภ เป็นตัวตาม)
      - พยัญชนะเศษวรรคที่เป็นตัวสะกดตัวเองตาม คือ ย ล ส
ไตรยางค์        ไตรยางค์ คือ อักษร ๓ หมู่ที่แยกเป็นกลุ่ม ๆ ตามลำดับเสียง
                อักษรสูง มี ๑๑ ตัว คือ  ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห คือ พยัญชนะแถวที่ ๒ จากตารางทั้งหมด เช่น ผี ฝาก ไข่ ใส่ ถุง ให้ ฉัน
                อักษรกลาง มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ คือ พยัญชนะแถวที่ ๑ จากตารางทั้งหมด เช่น ไก่ จิก เด็ก ตาบ บน ปาก โอ่ง
                อักษรต่ำ มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ณ ท ธ ฑ ฒ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ คือ พยัญชนะแถวที่ ๓, ๔ และ ๕
        ประโยชน์ของไตรยางค์ ช่วยในการผันอักษรให้มีเสียง และความหมายใกล้เคียงกับเสียงธรรมชาติมากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น