วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

พยัญชนะไทย





               พยัญชนะไทย มี ๔๔ ตัว คือ


ก ไก่ข ไข่ ฃวด ควาย ฅน ระฆัง
 งู จาน ฉิ่งช ช้างซ โซ่ฌ เฌอ
 หญิง ชฎาฏ ปฏักฐ ฐานฑ มณโฑฒ ผู้เฒ่า
 เณร เด็ก เต่าถ ถุงท ทหารธ ธง
 หนู ใบไม้ป ปลาผ ผึ้งฝ ฝาพ พาน
 ฟัน สำเภาม ม้าย ยักษ์ร เรือล ลิง
 แหวน ศาลาษ ฤๅษีส เสือห หีบฬ จุฬา
 อ่าง นกฮูก   
 


เรื่องย่อสังข์ทอง

 

สังข์ทอง

ท้าวยศวิมลมีมเหสีชื่อนางจันท์เทวี มีสนมเอกชื่อนางจันทาเทวี ไม่มีโอรสธิดา จึงบวงสรวงและรักษาศีลห้าเพื่อขอบุตร และประกาศแก่พระมเหสีและนางสนมว่าถ้าใครมีโอรสก็จะมอบเมืองให้ครอง
อยู่มานางจันท์เทวีทรงครรภ์ เทวบุตรจุติมา เป็นพระโอรสของนาง แต่ประสูติมาเป็นหอยสังข์ นางจันทาเทวีเกิดความริษยาจึงติดสินบนโหรหลวงให้ทำนายว่าหอยสังข์จะทำให้บ้านเมืองเกิดความหายนะ ท้าวยศวิมลหลงเชื่อนางจันทาเทวี จึงจำใจต้องเนรเทศนางจันท์เทวีและหอยสังข์ไปจากเมือง
นางจันท์เทวีพาหอยสังข์ไปอาศัยตายายช่าวไร่ ช่วยงานตายายเป็นเวลา 5 ปี พระโอรสในหอยสังข์แอบออกมาช่วยทำงาน เช่น หุงหาอาหาร ไล่ไก่ไม่ให้จิกข้าว เมื่อนางจันท์เทวีทราบก็ทุบหอยสังข์เสีย
ในเวลาต่อมา พระนางจันทาเทวีได้ไปว่าจ้างแม่เฒ่าสุเมธาให้ช่วยทำเสน่ห์เพื่อที่ท้าวยศวิมลจะได้หลงอยู่ในมนต์สะกด และได้ยุยงให้ท้าวยศวิมลไปจับตัวพระสังข์มาประหาร ท้าวยศวิมลจึงมีบัญชาให้จับตัวพระสังข์มาถ่วงน้ำ แต่ท้าวภุชงค์(พญานาค) ราชาแห่งเมืองบาดาลก็มาช่วยไว้ และนำไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ก่อนจะส่งให้นางพันธุรัตเลี้ยงดูต่อไปจนพระสังข์มีอายุได้ 15 ปีบริบูรณ์
วันหนึ่ง นางพันธุรัตได้ไปหาอาหาร พระสังข์ได้แอบไปเที่ยวเล่นที่หลังวัง และได้พบกับบ่อเงิน บ่อทอง รูปเงาะ เกือกทอง(รองเท้าทองนั้นเอง) ไม้พลอง และพระสังข์ก็รู้ความจริงว่านางพันธุรัตเป็นยักษ์ เมื่อพระสังข์พบเข้ากับโครงกระดูก จึงได้เตรียมแผนการหนีด้วยการสวมกระโดดลงไปชุบตัวในบ่อทอง สวมรูปเงาะ กับเกือกทอง และขโมยไม้พลองเหาะหนีไป
เมื่อนางพันธุรัตทราบว่าพระสังข์หนีไป ก็ออกตามหาจนพบพระสังข์อยู่บนเขาลูกหนึ่ง จึงขอร้องให้พระสังข์ลงมา แต่พระสังข์ก็ไม่ยอม นางพันธุรัตจึงเขียนมหาจินดามนตร์ที่ใช้เรียกเนื้อเรียกปลาได้ไว้ที่ก้อนหิน ก่อนที่นางจะอกแตกตาย ซึ่งพระสังข์ได้ลงมาท่องมหาจินดามนตร์จนจำได้ และได้สวมรูปเงาะออกเดินทางต่อไป
พระสังข์เดินทางมาถึงเมืองสามล ซึ่งมีท้าวสามลและพระนางมณฑาปกครองเมือง ซึ่งท้าวสามลและพระนางมณฑามีธิดาล้วนถึง 7 พระองค์ โดยเฉพาะ พระธิดาองค์สุดท้องที่ชื่อ รจนา มีสิริโฉมเลิศล้ำกว่าธิดาทุกองค์ จนวันหนึ่ง ท้าวสามลได้จัดให้มีพิธีเสี่ยงมาลัยเลือกคู่ให้ธิดาทั้งเจ็ด ซึ่งธิดาทั้ง 6 ต่างเสี่ยงมาลัยได้คู่ครองทั้งสิ้น เว้นแต่นางรจนาที่มิได้เลือกเจ้าชายองค์ใดเป็นคู่ครอง ท้าวสามลจึงได้ให้ทหารไปนำตัวพระสังข์ในร่างเจ้าเงาะซึ่งเป็นชายเพียงคนเดียวที่เหลือในเมืองสามล ซึ่งนางรจนาเห็นรูปทองภายในของเจ้าเงาะ จึงได้เสี่ยงพวงมาลัยให้เจ้าเงาะ ทำให้ท้าวสามลโกรธมาก เนรเทศนางรจนาไปอยู่ที่กระท่อมปลายนากับเจ้าเงาะ
ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของพระอินทร์ อาสน์ที่ประทับของพระอินทร์เกิดแข็งกระด้าง อันเป็นสัญญาณว่ามีผู้มีบุญกำลังเดือดร้อน จึงส่องทิพยเนตรลงไปพบเหตุการณ์ในเมืองสามล จึงได้แปลงกายเป็นกษัตริย์เมืองยกทัพไปล้อมเมืองสามล ท้าให้ท้าวสามลออกมาแข่งตีคลีกับพระองค์ หากท้าวสามลแพ้ พระองค์จะยึดเมืองสามลเสีย
ท้าวสามลส่งหกเขยไปแข่งตีคลีกับพระอินทร์ แต่ก็แพ้ไม่เป็นท่า จึงจำต้องเรียกเจ้าเงาะให้มาช่วยตีคลี ซึ่งนางรจนาได้ขอร้องให้สามีช่วยถอดรูปเงาะมาช่วยตีคลี เจ้าเงาะถูกขอร้องจนใจอ่อน และยอมถอดรูปเงาะมาช่วยเมืองสามลตีคลีจนชนะในที่สุด
หลังจากเสร็จภารกิจที่เมืองสามลแล้ว พระอินทร์ได้ไปเข้าฝันท้าวยศวิมล และเปิดโปงความชั่วของพระนางจันทาเทวี พร้อมกับสั่งให้ท้าวยศวิมลไปรับพระนางจันท์เทวีกับพระสังข์มาอยู่ด้วยกันดังเดิม ท้าวยศวิมลจึงยกขบวนเสด็จไปรับพระนางจันท์เทวีกลับมา และพากันเดินทางไปยังเมืองสามลเมื่อตามหาพระสังข์
ท้าวยศวิมลและพระนางจันท์เทวีปลอมตัวเป็นสามัญชนเข้าไปอยู่ในวัง โดยท้าวยศวิมลเข้าไปสมัครเป็นช่างสานกระบุง ตะกร้า ส่วนพระนางจันท์เทวีเข้าไปสมัครเป็นแม่ครัว และในวันหนึ่ง พระนางจันท์เทวีก็ปรุงแกงฟักถวายพระสังข์ โดยพระนางจันท์เทวีได้แกะสลักชิ้นฟักเจ็ดชิ้นเป็นเรื่องราวของพระสังข์ตั้งแต่เยาว์วัย ทำให้พระสังข์รู้ว่าพระมารดาตามมาแล้ว จึงมาที่ห้องครัวและได้พบกับพระมารดาที่พลัดพรากจากกันไปนานอีกครั้ง
หลังจากนั้น ท้าวยศวิมล พระนางจันท์เทวี พระสังข์กับนางรจนาได้เดินทางกลับเมืองยศวิมล ท้าวยศวิมลได้สั่งประหารพระนางจันทาเทวี และสละราชสมบัติให้พระสังข์ได้ครองราชย์สืบต่อมา

สำนวนไทย




กินน้ำใต้ศอก

ถึงจะได้อะไรสักอย่างก็ไม่เทียมหน้าหรือไม่เสมอหน้าเขา เช่นหญิงที่ได้สามี แต่ต้องตกไปอยู่ในตำแหน่งเมียน้อย ก็เรียกว่า “กินน้ำใต้ศอกเขา” ที่มาของสำนวนนี้ คนในสมัยก่อนอธิบายว่า คนหนึ่งเอาสองมือกอบน้ำมากิน อีกคนหนึ่งรอหิวไม่ไหวเลยเอาปากเข้าไปรองน้ำที่ไหลลงมาข้อศอก ของคนกอบน้ำกินนั้นเพราะรอหิวไม่ทันใจ





กระต่ายหมายจันทร์

ผู้ชายที่หมายปองกับผู้หญิงมีฐานะสูงกว่า




จับปลาสองมือ

ทำกิจที่ยากมากกว่าหนึ่งอย่างในเวลาเดียวกันจึงผิดพลาดหรือไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร





ตำข้าวสารกรอกหม้อ

ทำงานแค่ให้เสร็จไปครั้งหนึ่งๆ หรือทำแค่พอกินไปวันหนึ่งๆ ซึ่งสำนวนนี้ มาจากคนสมัยก่อน จะต้องนำข้าวเปลือกมาตำเปลือกออก เป็นข้าวสาร แล้วค่อยนำไปหุงกิน แต่คนขี้เกียจ ก็จะตำข้าวเปลือกพอหุงได้มื้อเดียว พอจะกินมื้อต่อไปค่อยมาตำเอาใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำตาม




น้ำลดตอผุด

เมื่อหมดอำนาจความชั่วที่ทำไว้ก็ปรากฏ




ทำนาบนหลังคน

หาผลประโยชน์ส่วนตนโดยขุดรีดผู้อื่น

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คำสมาส


“คำสมาส”
การสมาสคำ
          เป็นการสร้างคำขึ้นเพื่อเพิ่มคำใหม่ประเภทหนึ่ง  เพื่อให้เพียงพอแก่ความต้องการสื่อสาร  โดยนำคำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป มารวมเป็นคำเดียวกัน  คำที่นำมารวมกันนี้เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาบาลีสันสกฤต เรียกว่า “คำสมาส” คำสมาสจะเป็นคำที่มีความหมายใหม่ คำที่มีความหมายหลักมักจะอยู่ข้างหลัง  คำที่ช่วยขยายความหมายจะอยู่ข้างหน้า  ดังนั้นการแปลคำสมาสจึงมักจะแปลจากท้ายมาหาคำหน้า เช่น
          มหา (ยิ่งใหญ่)  +  ชาติ (การเกิด)   เท่ากับ   มหาชาติ  หมายถึง          การเกิดครั้งยิ่งใหญ่
          วีร (กล้าหาญ)   +  บุรุษ (ชาย)       เท่ากับ   วีรบุรุษ    หมายถึง  ชายผู้กล้าหาญ
          อุทก (น้ำ)        +  ภัย (อันตราย)    เท่ากับ   อุทกภัย   หมายถึง ภัยอันตรายที่เกิดจากน้ำท่วม
          คำสมาส (อ่านว่า สะ – หมาด) คือ การนำคำภาษาบาลีและ/หรือสันสกฤตตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมารวมกันเป็นคำเดียว มีความหมายเกี่ยวเนื่องกัน โดยคำหลักมักอยู่ข้างหลัง คำขยายมักอยู่ข้างหน้า เช่น ราชธานี  คำว่า  ธานี  ซึ่งแปลว่าเมืองจะอยู่ท้ายคำ
การสร้างคำสมาส
          คำสมาสในภาษาไทยมีวิธีการสร้างคำ ดังนี้
                   ๑.  นำคำภาษาบาลีและสันสกฤตมาต่อกัน  อาจเป็นคำภาษาบาลีต่อกับภาษาบาลี หรือคำภาษาสันสกฤตต่อกับภาษาสันสกฤต หรือคำภาษาบาลีต่อกับภาษาสันสกฤตก็ได้  เมื่อแปลคำสมาสจะแปลจากคำหลังไปหาคำหน้า
           ตัวอย่าง
    ถาวร (มั่นคง, ยั่งยืน) + วัตถุ (สิ่งของ) (บาลี + บาลี) = ถาวรวัตถุ
          อ่านว่า           ถา – วอน – วัด – ถุ
          หมายถึง         สิ่งของที่ก่อสร้างที่มั่นคง ยั่งยืน เช่น โบสถ์ วิหาร
    ฌาปน (การเผาศพ) + กิจ (ธุระ, งาน) (บาลี + บาลี) = ฌาปนกิจ
           อ่านว่า           ชา – ปะ – นะ – กิด
           หมายถึง         งานเกี่ยวกับการเผาศพ
    ราช (พระเจ้าแผ่นดิน) + ฐาน (ที่อยู่) (บาลี + บาลี) = ราชฐาน
          อ่านว่า           ราด – ชะ – ถาน
          หมายถึง         ที่อยู่ของพระเจ้าแผ่นดิน
    เกษตร (ที่ดิน, ไร่,นา) + กรรม (การกระทำ) (สันสกฤต + สันสกฤต) = เกษตรกรรม
          อ่านว่า กะ – เสด – ตระ – กำ
          หมายถึง         การใช้ที่ดินเพาะปลูก
    ไตร (สาม) + ลักษณ์ (ลักษณะ) (สันสกฤต + สันสกฤต) = ไตรลักษณ์
          อ่านว่า           ไตร – ลัก
          หมายถึง         ลักษณะ ๓ ประการ คือ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความมิใช่ตัวตน
    คณิต (การคำนวณ) + ศาสตร์ (ระบบวิชาความรู้) (สันสกฤต + สันสกฤต) =  
     คณิตศาสตร์
          อ่านว่า           คะ – นิด – ตะ – สาด
          หมายถึง         วิชาว่าด้วยการคำนวณ
    หัตถ (มือ) + กรรม (การกระทำ) (บาลี + สันสกฤต) = หัตถกรรม
          อ่านว่า           หัด – ถะ – กำ
          หมายถึง         งานช่างที่ทำด้วยมือ
            ข้อสังเกต
            การสร้างคำวิธีนี้เป็นการนำคำมาเรียงต่อกัน และในการอ่านมักอ่านออกเสียงพยางค์เชื่อมระหว่างคำที่มาต่อกัน  แต่มีบางคำไม่อ่านออกเสียงพยางค์เชื่อมระหว่างคำ หรือบางคำจะอ่านออกเสียงพยางค์เชื่อมระหว่างคำหรือไม่ก็ได้ เช่น
          เกียรติคุณ       อ่านว่า           เกียด – ติ – คุน
                                 หมายถึง        คุณที่เลื่องลือ
          มาตุภูมิ           อ่านว่า           มา – ตุ – พูม
                                 หมายถึง        บ้านเกิดเมืองนอน
          เกียรตินิยม      อ่านว่า          เกียด – นิ – ยม
                                 หมายถึง        ความรู้ดีเด่นเหนือระดับปกติ
          จิตพิสัย           อ่านว่า          จิด – พิ – ไส
                                 หมายถึง        ที่มีอยู่ในจิต
          มูลนิธิ             อ่านว่า           มูน – นิ – ทิ หรือ มูน – ละ – นิ – ทิ
                                 หมายถึง        ทรัพย์สินที่จัดไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
          ศิลปกรรม       อ่านว่า           สิน – ปะ – กำ หรือ สิน – ละ – ปะ – กำ
                                หมายถึง         สิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเป็นศิลปะ                             
          ๒.  นำคำภาษาบาลีสันสกฤตมาเชื่อมกันเป็นคำเดียวกันอีกแบบหนึ่ง        บางครั้งเรียกว่า”สมาสมีสนธิ” หมายถึง  การนำคำบาลีสันสกฤต ๒ คำ มาเชื่อมต่อเสียง ให้เสียงกลมกลืนกับพยางค์ต้นของคำหลัง มักเป็น อะ อา อิ อี หรือ อุ อู ไปเชื่อมกับพยางค์ท้ายของคำต้น  คำที่นำมาเชื่อมกันนี้อาจเป็นคำภาษาบาลีต่อกับคำภาษาบาลี หรือคำภาษาสันสกฤตต่อกับคำภาษาสันสกฤต หรือคำภาษาบาลีต่อกับคำภาษาสันสกฤตก็ได้ และเมื่อแปลความหมายจะแปลจากคำหลังไปหาคำหน้า เช่น
            ตัวอย่าง
            ภัตต (อาหาร) + อาคาร (เรือน) (บาลี + บาลี) = ภัตตาคาร
                   หมายถึง  อาคารที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม
            เลขา (การเขียน) + อนุการ (การทำตาม) (บาลีสันสกฤต + บาลีสันสกฤต) = เลขานุการ
                   หมายถึง  ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ
            ศิระ (หัว, ยอด) + อาภรณ์ (เครื่องประดับ) (สันสกฤต + บาลี) = ศิราภรณ์
                   หมายถึง  อาภรณ์ประดับศีรษะ เช่น มงกุฎ
            ปรม (อย่างยิ่ง) + อณู (เล็ก, ละเอียด) (บาลี + บาลี) = ปรมาณู
                   หมายถึง  ส่วนของสารที่มีขนาดเล็กจนไม่สามารถแยกย่อย
            สุข (ความสบายกาย, สบายใจ) + อารมณ์ (ความรู้สึกทางใจ) (บาลี + บาลี) = สุขารมณ์
                   หมายถึง  อารมณ์ที่มีสุข
            ราชา (พระเจ้าแผ่นดิน) + อุปโภค (เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์) (สันสกฤต + สันสกฤต)
                   = ราชูปโภค     หมายถึง         ของใช้สำหรับพระราชา
            ข้อสังเกต
          มีคำในภาษาไทยหลายคำที่มีการประกอบคำคล้ายคำสมาส คือ นำศัพท์มาเรียงต่อกันและสามารถอ่านออกเสียง อะ อิ อุ เชื่อมระหว่างคำที่มาต่อกัน แต่ไม่ใช่คำสมาส  เพราะไม่ใช่คำรวมของคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต และมีภาษาอื่นปน เช่น
          คุณ + ค่า        (บาลี + ไทย)                 อ่านว่า   คุน – นะ – ค่า, คุน – ค่า
          ชีว + เคมี        (สันสกฤต + อังกฤษ)    อ่านว่า   ชี – วะ – เค – มี
          เทพ + เจ้า       (บาลี + ไทย)                อ่านว่า   เทบ – พะ – เจ้า
          ทุน + ทรัพย์     (ไทย + สันสกฤต)        อ่านว่า   ทุน – นะ – ซับ
          เมรุ + มาศ      (บาลี + เขมร)                อ่านว่า   เม – รุ – มาด
          บรรจุ + ภัณฑ์   (เขมร + บาลีสันสกฤต) อ่านว่า บัน – จุ – พัน
          พล + เรือน      (บาลี + ไทย)                อ่านว่า   พน – ละ – เรอน
ลักษณะของคำสมาส
          ๑.  คำที่สมาสกันต้องเป็นคำบาลี สันสกฤตเท่านั้น อาจจะเป็นบาลีสมาสกับบาลี เช่น ทิพโสต ขัตติยมานะ สันสกฤตสมาสกับสันสกฤต เช่น อักษรศาสตร์ บุรุษโทษ บาลีสมาสกับสันสกฤต เช่น วิทยาเขต วัฒนธรรม
          ๒.  คำสมาสไม่ต้องประวิสรรชนีย์หรือมีเครื่องหมายทัณฑฆาตที่อักษรสุดท้ายของคำหน้า เช่น ศิลปกรรม ธุรการ สัมฤทธิ์บัตร วารดิถี 
          ๓.  คำที่นำมาสมาสกันแล้ว ความหมายหลักอยู่ที่คำหลัง ส่วนความรองจะอยู่ข้างหน้า เช่น ยุทธ (รบ) + ภูมิ (แผ่นดิน / สนาม) = ยุทธภูมิ (สนามรบ)
          ๔.  คำที่รวมกันแล้วไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำแต่อย่างใด เช่น วัฒน + ธรรม = วัฒนธรรม / โลก + บาล = โลกบาล
          ๕.  คำสมาสเมื่อออกเสียงต้องต่อเนื่องกัน เช่น ภูมิศาสตร์ อ่านว่า พู – มิ – สาด / เกตุมาลา อ่านว่า เก – ตุ – มา – ลา
หลักการสังเกตคำสมาส
            ๑.  คำที่สมาสกันต้องเป็นคำบาลี สันสกฤตเท่านั้น เช่น ทิพโสต ขัตติยมานะ กิจการ(บาลีสมาสกับบาลี) อักษรศาสตร์ บุรุษโทษ (สันสกฤตสมาสกับสันสกฤต)  วิทยาเขต วัฒนธรรม (บาลีสมาสกับสันสกฤต)
            ๒.  คำสมาสมีลักษณะคล้ายการนำคำสองคำมาวางเรียงต่อกัน  เวลาอ่านจะมีเสียงสระต่อเนื่องกัน
            ๓.  ไม่มีการประวิสรรชนีย์ (  )และ ไม่ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาต เช่น  มนุษยสัมพันธ์ พลศึกษา
            ๔.  การเรียงคำ คำหลักจะอยู่ข้างหลัง ดังนั้นการแปลจึงแปลความหมายจากหลังมาหน้า
            ๕.  คำ “พระ” ประกอบหน้าคำบาลี สันสกฤต จัดเป็นคำสมาส
            ๖.  คำที่ลงท้ายด้วยคำว่า ศาสตร์  กรรม  ภาพ  ภัย  ศึกษา  มักเป็นคำสมาส
หมายเหตุ : ยกเว้นคำสมาสบางคำที่วางคำตั้งหรือคำหลักเป็นคำหน้าและวางคำขยายเป็นคำหลังจึงสามารถแปลความหมายจากหน้าไปหลังได้ เช่น บุตรธิดา หมายถึง ลูกและภรรยา  สมณพราหมณ์ หมายถึง พระสงฆ์และพราหมณ์   ทาสกรรมกร หมายถึง ทาสและกรรมกรฯลฯ
แนวคิด 
          คำไหนมี “ ะ ” หรือ ตัวการันต์ ระหว่างคำ คำนั้นไม่ใช่คำสมาส เช่น กิจจะลักษณะ วิพากษ์วิจารณ์ พิมพ์ดีด
ตัวอย่างคำสมาส
ธุรกิจ
กิจกรรม
กรรมกร
ขัณฑสีมา
คหกรรม
เอกภพ
กาฬทวีป
สุนทรพจน์
จีรกาล
บุปผชาติ
ประถมศึกษา
ราชทัณฑ์
มหาราช
ฉันทลักษณ์
พุทธธรรม
วรรณคดี
อิทธิพล
มาฆบูชา
มัจจุราช
วิทยฐานะ
วรรณกรรม
สัมมาอาชีพ
หัตถศึกษา
ยุทธวิธี
วาตภัย
อุตสาหกรรม
สังฆราช
รัตติกาล
วสันตฤดู
สุขภาพ
อธิการบดี
ดาราศาสตร์
พุพภิกขภัย
สุคนธรส
วิสาขบูชา
บุตรทาน
สมณพราหมณ์
สังฆเภท
อินทรธนู
ฤทธิเดช
แพทย์ศาสตร์
ปัญญาชน
วัตถุธรรม
มหานิกาย
มนุษยสัมพันธ์
วิทยาธร
วัฏสงสาร
สารัตถศึกษา
พัสดุภัณฑ์
เวชกรรม
เวทมนตร์
มรรคนายก
อัคคีภัย
อุดมคติ
เอกชน
ทวิบาท
ไตรทวาร
ศิลปกรรม
ภูมิศาสตร์
รัฐศาสตร์
กาฬพักตร์
ราชโอรส
ราชอุบาย
บุตรทารก
ทาสกรรมกร
พระหัตถ์
พระชงฆ์
พระพุทธ
พระปฤษฏางค์
วิทยาศาสตร์
กายภาพ
กายกรรม
อุทกภัย
วรพงศ์
เกษตรกรรม
ครุศาสตร์
ชีววิทยา
มหกรรม
อัฏฐางคิกมรรค
มหาภัย
อุบัติเหตุ
กรรมกร
สันติภาพ
มหานคร
จตุปัจจัย