“คำสมาส”
การสมาสคำ
เป็นการสร้างคำขึ้นเพื่อเพิ่มคำใหม่ประเภทหนึ่ง เพื่อให้เพียงพอแก่ความต้องการสื่อสาร โดยนำคำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป มารวมเป็นคำเดียวกัน คำที่นำมารวมกันนี้เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาบาลีสันสกฤต เรียกว่า “คำสมาส” คำสมาสจะเป็นคำที่มีความหมายใหม่ คำที่มีความหมายหลักมักจะอยู่ข้างหลัง คำที่ช่วยขยายความหมายจะอยู่ข้างหน้า ดังนั้นการแปลคำสมาสจึงมักจะแปลจากท้ายมาหาคำหน้า เช่น
มหา (ยิ่งใหญ่) + ชาติ (การเกิด) เท่ากับ มหาชาติ หมายถึง การเกิดครั้งยิ่งใหญ่
วีร (กล้าหาญ) + บุรุษ (ชาย) เท่ากับ วีรบุรุษ หมายถึง ชายผู้กล้าหาญ
อุทก (น้ำ) + ภัย (อันตราย) เท่ากับ อุทกภัย หมายถึง ภัยอันตรายที่เกิดจากน้ำท่วม
วีร (กล้าหาญ) + บุรุษ (ชาย) เท่ากับ วีรบุรุษ หมายถึง ชายผู้กล้าหาญ
อุทก (น้ำ) + ภัย (อันตราย) เท่ากับ อุทกภัย หมายถึง ภัยอันตรายที่เกิดจากน้ำท่วม
คำสมาส (อ่านว่า สะ – หมาด) คือ การนำคำภาษาบาลีและ/หรือสันสกฤตตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมารวมกันเป็นคำเดียว มีความหมายเกี่ยวเนื่องกัน โดยคำหลักมักอยู่ข้างหลัง คำขยายมักอยู่ข้างหน้า เช่น ราชธานี คำว่า ธานี ซึ่งแปลว่าเมืองจะอยู่ท้ายคำ
การสร้างคำสมาส
คำสมาสในภาษาไทยมีวิธีการสร้างคำ ดังนี้
๑. นำคำภาษาบาลีและสันสกฤตมาต่อกัน อาจเป็นคำภาษาบาลีต่อกับภาษาบาลี หรือคำภาษาสันสกฤตต่อกับภาษาสันสกฤต หรือคำภาษาบาลีต่อกับภาษาสันสกฤตก็ได้ เมื่อแปลคำสมาสจะแปลจากคำหลังไปหาคำหน้า
ตัวอย่าง
ถาวร (มั่นคง, ยั่งยืน) + วัตถุ (สิ่งของ) (บาลี + บาลี) = ถาวรวัตถุ
อ่านว่า ถา – วอน – วัด – ถุ
หมายถึง สิ่งของที่ก่อสร้างที่มั่นคง ยั่งยืน เช่น โบสถ์ วิหาร
ฌาปน (การเผาศพ) + กิจ (ธุระ, งาน) (บาลี + บาลี) = ฌาปนกิจ
อ่านว่า ชา – ปะ – นะ – กิด
หมายถึง งานเกี่ยวกับการเผาศพ
ราช (พระเจ้าแผ่นดิน) + ฐาน (ที่อยู่) (บาลี + บาลี) = ราชฐาน
อ่านว่า ราด – ชะ – ถาน
หมายถึง ที่อยู่ของพระเจ้าแผ่นดิน
เกษตร (ที่ดิน, ไร่,นา) + กรรม (การกระทำ) (สันสกฤต + สันสกฤต) = เกษตรกรรม
อ่านว่า กะ – เสด – ตระ – กำ
หมายถึง การใช้ที่ดินเพาะปลูก
ไตร (สาม) + ลักษณ์ (ลักษณะ) (สันสกฤต + สันสกฤต) = ไตรลักษณ์
อ่านว่า ไตร – ลัก
หมายถึง ลักษณะ ๓ ประการ คือ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความมิใช่ตัวตน
คณิต (การคำนวณ) + ศาสตร์ (ระบบวิชาความรู้) (สันสกฤต + สันสกฤต) =
คณิตศาสตร์
อ่านว่า คะ – นิด – ตะ – สาด
หมายถึง วิชาว่าด้วยการคำนวณ
หัตถ (มือ) + กรรม (การกระทำ) (บาลี + สันสกฤต) = หัตถกรรม
อ่านว่า หัด – ถะ – กำ
หมายถึง งานช่างที่ทำด้วยมือ
อ่านว่า ถา – วอน – วัด – ถุ
หมายถึง สิ่งของที่ก่อสร้างที่มั่นคง ยั่งยืน เช่น โบสถ์ วิหาร
ฌาปน (การเผาศพ) + กิจ (ธุระ, งาน) (บาลี + บาลี) = ฌาปนกิจ
อ่านว่า ชา – ปะ – นะ – กิด
หมายถึง งานเกี่ยวกับการเผาศพ
ราช (พระเจ้าแผ่นดิน) + ฐาน (ที่อยู่) (บาลี + บาลี) = ราชฐาน
อ่านว่า ราด – ชะ – ถาน
หมายถึง ที่อยู่ของพระเจ้าแผ่นดิน
เกษตร (ที่ดิน, ไร่,นา) + กรรม (การกระทำ) (สันสกฤต + สันสกฤต) = เกษตรกรรม
อ่านว่า กะ – เสด – ตระ – กำ
หมายถึง การใช้ที่ดินเพาะปลูก
ไตร (สาม) + ลักษณ์ (ลักษณะ) (สันสกฤต + สันสกฤต) = ไตรลักษณ์
อ่านว่า ไตร – ลัก
หมายถึง ลักษณะ ๓ ประการ คือ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความมิใช่ตัวตน
คณิต (การคำนวณ) + ศาสตร์ (ระบบวิชาความรู้) (สันสกฤต + สันสกฤต) =
คณิตศาสตร์
อ่านว่า คะ – นิด – ตะ – สาด
หมายถึง วิชาว่าด้วยการคำนวณ
หัตถ (มือ) + กรรม (การกระทำ) (บาลี + สันสกฤต) = หัตถกรรม
อ่านว่า หัด – ถะ – กำ
หมายถึง งานช่างที่ทำด้วยมือ
ข้อสังเกต
การสร้างคำวิธีนี้เป็นการนำคำมาเรียงต่อกัน และในการอ่านมักอ่านออกเสียงพยางค์เชื่อมระหว่างคำที่มาต่อกัน แต่มีบางคำไม่อ่านออกเสียงพยางค์เชื่อมระหว่างคำ หรือบางคำจะอ่านออกเสียงพยางค์เชื่อมระหว่างคำหรือไม่ก็ได้ เช่น
เกียรติคุณ อ่านว่า เกียด – ติ – คุน
หมายถึง คุณที่เลื่องลือ
มาตุภูมิ อ่านว่า มา – ตุ – พูม
หมายถึง บ้านเกิดเมืองนอน
เกียรตินิยม อ่านว่า เกียด – นิ – ยม
หมายถึง ความรู้ดีเด่นเหนือระดับปกติ
จิตพิสัย อ่านว่า จิด – พิ – ไส
หมายถึง ที่มีอยู่ในจิต
มูลนิธิ อ่านว่า มูน – นิ – ทิ หรือ มูน – ละ – นิ – ทิ
หมายถึง ทรัพย์สินที่จัดไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
ศิลปกรรม อ่านว่า สิน – ปะ – กำ หรือ สิน – ละ – ปะ – กำ
หมายถึง สิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเป็นศิลปะ
หมายถึง คุณที่เลื่องลือ
มาตุภูมิ อ่านว่า มา – ตุ – พูม
หมายถึง บ้านเกิดเมืองนอน
เกียรตินิยม อ่านว่า เกียด – นิ – ยม
หมายถึง ความรู้ดีเด่นเหนือระดับปกติ
จิตพิสัย อ่านว่า จิด – พิ – ไส
หมายถึง ที่มีอยู่ในจิต
มูลนิธิ อ่านว่า มูน – นิ – ทิ หรือ มูน – ละ – นิ – ทิ
หมายถึง ทรัพย์สินที่จัดไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
ศิลปกรรม อ่านว่า สิน – ปะ – กำ หรือ สิน – ละ – ปะ – กำ
หมายถึง สิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเป็นศิลปะ
๒. นำคำภาษาบาลีสันสกฤตมาเชื่อมกันเป็นคำเดียวกันอีกแบบหนึ่ง บางครั้งเรียกว่า”สมาสมีสนธิ” หมายถึง การนำคำบาลีสันสกฤต ๒ คำ มาเชื่อมต่อเสียง ให้เสียงกลมกลืนกับพยางค์ต้นของคำหลัง มักเป็น อะ อา อิ อี หรือ อุ อู ไปเชื่อมกับพยางค์ท้ายของคำต้น คำที่นำมาเชื่อมกันนี้อาจเป็นคำภาษาบาลีต่อกับคำภาษาบาลี หรือคำภาษาสันสกฤตต่อกับคำภาษาสันสกฤต หรือคำภาษาบาลีต่อกับคำภาษาสันสกฤตก็ได้ และเมื่อแปลความหมายจะแปลจากคำหลังไปหาคำหน้า เช่น
ตัวอย่าง
ภัตต (อาหาร) + อาคาร (เรือน) (บาลี + บาลี) = ภัตตาคาร
หมายถึง อาคารที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม
เลขา (การเขียน) + อนุการ (การทำตาม) (บาลีสันสกฤต + บาลีสันสกฤต) = เลขานุการ
หมายถึง ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ
ศิระ (หัว, ยอด) + อาภรณ์ (เครื่องประดับ) (สันสกฤต + บาลี) = ศิราภรณ์
หมายถึง อาภรณ์ประดับศีรษะ เช่น มงกุฎ
ปรม (อย่างยิ่ง) + อณู (เล็ก, ละเอียด) (บาลี + บาลี) = ปรมาณู
หมายถึง ส่วนของสารที่มีขนาดเล็กจนไม่สามารถแยกย่อย
สุข (ความสบายกาย, สบายใจ) + อารมณ์ (ความรู้สึกทางใจ) (บาลี + บาลี) = สุขารมณ์
หมายถึง อารมณ์ที่มีสุข
ราชา (พระเจ้าแผ่นดิน) + อุปโภค (เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์) (สันสกฤต + สันสกฤต)
= ราชูปโภค หมายถึง ของใช้สำหรับพระราชา
หมายถึง อาคารที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม
เลขา (การเขียน) + อนุการ (การทำตาม) (บาลีสันสกฤต + บาลีสันสกฤต) = เลขานุการ
หมายถึง ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ
ศิระ (หัว, ยอด) + อาภรณ์ (เครื่องประดับ) (สันสกฤต + บาลี) = ศิราภรณ์
หมายถึง อาภรณ์ประดับศีรษะ เช่น มงกุฎ
ปรม (อย่างยิ่ง) + อณู (เล็ก, ละเอียด) (บาลี + บาลี) = ปรมาณู
หมายถึง ส่วนของสารที่มีขนาดเล็กจนไม่สามารถแยกย่อย
สุข (ความสบายกาย, สบายใจ) + อารมณ์ (ความรู้สึกทางใจ) (บาลี + บาลี) = สุขารมณ์
หมายถึง อารมณ์ที่มีสุข
ราชา (พระเจ้าแผ่นดิน) + อุปโภค (เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์) (สันสกฤต + สันสกฤต)
= ราชูปโภค หมายถึง ของใช้สำหรับพระราชา
ข้อสังเกต
มีคำในภาษาไทยหลายคำที่มีการประกอบคำคล้ายคำสมาส คือ นำศัพท์มาเรียงต่อกันและสามารถอ่านออกเสียง อะ อิ อุ เชื่อมระหว่างคำที่มาต่อกัน แต่ไม่ใช่คำสมาส เพราะไม่ใช่คำรวมของคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต และมีภาษาอื่นปน เช่น
คุณ + ค่า (บาลี + ไทย) อ่านว่า คุน – นะ – ค่า, คุน – ค่า
ชีว + เคมี (สันสกฤต + อังกฤษ) อ่านว่า ชี – วะ – เค – มี
เทพ + เจ้า (บาลี + ไทย) อ่านว่า เทบ – พะ – เจ้า
ทุน + ทรัพย์ (ไทย + สันสกฤต) อ่านว่า ทุน – นะ – ซับ
เมรุ + มาศ (บาลี + เขมร) อ่านว่า เม – รุ – มาด
บรรจุ + ภัณฑ์ (เขมร + บาลีสันสกฤต) อ่านว่า บัน – จุ – พัน
พล + เรือน (บาลี + ไทย) อ่านว่า พน – ละ – เรือน
ชีว + เคมี (สันสกฤต + อังกฤษ) อ่านว่า ชี – วะ – เค – มี
เทพ + เจ้า (บาลี + ไทย) อ่านว่า เทบ – พะ – เจ้า
ทุน + ทรัพย์ (ไทย + สันสกฤต) อ่านว่า ทุน – นะ – ซับ
เมรุ + มาศ (บาลี + เขมร) อ่านว่า เม – รุ – มาด
บรรจุ + ภัณฑ์ (เขมร + บาลีสันสกฤต) อ่านว่า บัน – จุ – พัน
พล + เรือน (บาลี + ไทย) อ่านว่า พน – ละ – เรือน
ลักษณะของคำสมาส
๑. คำที่สมาสกันต้องเป็นคำบาลี สันสกฤตเท่านั้น อาจจะเป็นบาลีสมาสกับบาลี เช่น ทิพโสต ขัตติยมานะ สันสกฤตสมาสกับสันสกฤต เช่น อักษรศาสตร์ บุรุษโทษ บาลีสมาสกับสันสกฤต เช่น วิทยาเขต วัฒนธรรม
๒. คำสมาสไม่ต้องประวิสรรชนีย์หรือมีเครื่องหมายทัณฑฆาตที่อักษรสุดท้ายของคำหน้า เช่น ศิลปกรรม ธุรการ สัมฤทธิ์บัตร วารดิถี
๓. คำที่นำมาสมาสกันแล้ว ความหมายหลักอยู่ที่คำหลัง ส่วนความรองจะอยู่ข้างหน้า เช่น ยุทธ (รบ) + ภูมิ (แผ่นดิน / สนาม) = ยุทธภูมิ (สนามรบ)
๔. คำที่รวมกันแล้วไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำแต่อย่างใด เช่น วัฒน + ธรรม = วัฒนธรรม / โลก + บาล = โลกบาล
๕. คำสมาสเมื่อออกเสียงต้องต่อเนื่องกัน เช่น ภูมิศาสตร์ อ่านว่า พู – มิ – สาด / เกตุมาลา อ่านว่า เก – ตุ – มา – ลา
๒. คำสมาสไม่ต้องประวิสรรชนีย์หรือมีเครื่องหมายทัณฑฆาตที่อักษรสุดท้ายของคำหน้า เช่น ศิลปกรรม ธุรการ สัมฤทธิ์บัตร วารดิถี
๓. คำที่นำมาสมาสกันแล้ว ความหมายหลักอยู่ที่คำหลัง ส่วนความรองจะอยู่ข้างหน้า เช่น ยุทธ (รบ) + ภูมิ (แผ่นดิน / สนาม) = ยุทธภูมิ (สนามรบ)
๔. คำที่รวมกันแล้วไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำแต่อย่างใด เช่น วัฒน + ธรรม = วัฒนธรรม / โลก + บาล = โลกบาล
๕. คำสมาสเมื่อออกเสียงต้องต่อเนื่องกัน เช่น ภูมิศาสตร์ อ่านว่า พู – มิ – สาด / เกตุมาลา อ่านว่า เก – ตุ – มา – ลา
หลักการสังเกตคำสมาส
๑. คำที่สมาสกันต้องเป็นคำบาลี สันสกฤตเท่านั้น เช่น ทิพโสต ขัตติยมานะ กิจการ(บาลีสมาสกับบาลี) อักษรศาสตร์ บุรุษโทษ (สันสกฤตสมาสกับสันสกฤต) วิทยาเขต วัฒนธรรม (บาลีสมาสกับสันสกฤต)
๒. คำสมาสมีลักษณะคล้ายการนำคำสองคำมาวางเรียงต่อกัน เวลาอ่านจะมีเสียงสระต่อเนื่องกัน
๓. ไม่มีการประวิสรรชนีย์ ( )และ ไม่ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาต เช่น มนุษยสัมพันธ์ พลศึกษา
๔. การเรียงคำ คำหลักจะอยู่ข้างหลัง ดังนั้นการแปลจึงแปลความหมายจากหลังมาหน้า
๕. คำ “พระ” ประกอบหน้าคำบาลี สันสกฤต จัดเป็นคำสมาส
๖. คำที่ลงท้ายด้วยคำว่า ศาสตร์ กรรม ภาพ ภัย ศึกษา มักเป็นคำสมาส
๒. คำสมาสมีลักษณะคล้ายการนำคำสองคำมาวางเรียงต่อกัน เวลาอ่านจะมีเสียงสระต่อเนื่องกัน
๓. ไม่มีการประวิสรรชนีย์ ( )และ ไม่ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาต เช่น มนุษยสัมพันธ์ พลศึกษา
๔. การเรียงคำ คำหลักจะอยู่ข้างหลัง ดังนั้นการแปลจึงแปลความหมายจากหลังมาหน้า
๕. คำ “พระ” ประกอบหน้าคำบาลี สันสกฤต จัดเป็นคำสมาส
๖. คำที่ลงท้ายด้วยคำว่า ศาสตร์ กรรม ภาพ ภัย ศึกษา มักเป็นคำสมาส
หมายเหตุ : ยกเว้นคำสมาสบางคำที่วางคำตั้งหรือคำหลักเป็นคำหน้าและวางคำขยายเป็นคำหลังจึงสามารถแปลความหมายจากหน้าไปหลังได้ เช่น บุตรธิดา หมายถึง ลูกและภรรยา สมณพราหมณ์ หมายถึง พระสงฆ์และพราหมณ์ ทาสกรรมกร หมายถึง ทาสและกรรมกรฯลฯ
แนวคิด
คำไหนมี “ ะ ” หรือ ตัวการันต์ ระหว่างคำ คำนั้นไม่ใช่คำสมาส เช่น กิจจะลักษณะ วิพากษ์วิจารณ์ พิมพ์ดีด
คำไหนมี “ ะ ” หรือ ตัวการันต์ ระหว่างคำ คำนั้นไม่ใช่คำสมาส เช่น กิจจะลักษณะ วิพากษ์วิจารณ์ พิมพ์ดีด
ตัวอย่างคำสมาส
ธุรกิจ |
กิจกรรม
|
กรรมกร
|
ขัณฑสีมา
|
คหกรรม
|
เอกภพ |
กาฬทวีป
|
สุนทรพจน์
|
จีรกาล
|
บุปผชาติ
|
ประถมศึกษา |
ราชทัณฑ์
|
มหาราช
|
ฉันทลักษณ์
|
พุทธธรรม
|
วรรณคดี |
อิทธิพล
|
มาฆบูชา
|
มัจจุราช
|
วิทยฐานะ
|
วรรณกรรม |
สัมมาอาชีพ
|
หัตถศึกษา
|
ยุทธวิธี
|
วาตภัย
|
อุตสาหกรรม |
สังฆราช
|
รัตติกาล
|
วสันตฤดู
|
สุขภาพ
|
อธิการบดี |
ดาราศาสตร์
|
พุพภิกขภัย
|
สุคนธรส
|
วิสาขบูชา
|
บุตรทาน |
สมณพราหมณ์
|
สังฆเภท
|
อินทรธนู
|
ฤทธิเดช
|
แพทย์ศาสตร์ |
ปัญญาชน
|
วัตถุธรรม
|
มหานิกาย
|
มนุษยสัมพันธ์
|
วิทยาธร |
วัฏสงสาร
|
สารัตถศึกษา
|
พัสดุภัณฑ์
|
เวชกรรม
|
เวทมนตร์ |
มรรคนายก
|
อัคคีภัย
|
อุดมคติ
|
เอกชน
|
ทวิบาท |
ไตรทวาร
|
ศิลปกรรม
|
ภูมิศาสตร์
|
รัฐศาสตร์
|
กาฬพักตร์ |
ราชโอรส
|
ราชอุบาย
|
บุตรทารก
|
ทาสกรรมกร
|
พระหัตถ์ |
พระชงฆ์
|
พระพุทธ
|
พระปฤษฏางค์
|
วิทยาศาสตร์
|
กายภาพ |
กายกรรม
|
อุทกภัย
|
วรพงศ์
|
เกษตรกรรม
|
ครุศาสตร์ |
ชีววิทยา
|
มหกรรม
|
อัฏฐางคิกมรรค
|
มหาภัย
|
อุบัติเหตุ |
กรรมกร
|
สันติภาพ
|
มหานคร
|
จตุปัจจัย
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น