ชนิดของคำในภาษาไทยมีทั้งหมด 7 ชนิด ดังนี้
1. คำนาม 5. คำบุพบท2. คำสรรพนาม 6. คำสันธาน
3. คำกริยา 7. คำอุทาน
4. คำวิเศษณ์
1. คำนาม คือ คำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ เช่น
แก้วน้ำ พ่อ บ้าน ปู ถนน ชลบุรี สวนจตุจักร คณะ ฝูง ความดี การเดิน แผ่น
แก้วน้ำ พ่อ บ้าน ปู ถนน ชลบุรี สวนจตุจักร คณะ ฝูง ความดี การเดิน แผ่น
คำนาม จะทำหน้าที่ในประโยคได้หลายหน้าที่ ดังนี้
1.1 ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น ตำรวจจับผู้ร้าย สุธีขับรถยนตร์
1.2 ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค เช่น แมวจับหนู พ่อกินข้าว น้องแตะฟุตบอล
1.1 ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น ตำรวจจับผู้ร้าย สุธีขับรถยนตร์
1.2 ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค เช่น แมวจับหนู พ่อกินข้าว น้องแตะฟุตบอล
2. คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนาม เพื่อให้ใช้ภาษาในการพูดหรือเขียนได้สละสลวย ไม่ใช้คำซ้ำไปมา เช่น
ฉัน กระผม ข้าพเจ้า คุณ เธอ ท่าน เขา มัน ใคร ไหน บ้าง นี่
ฉัน กระผม ข้าพเจ้า คุณ เธอ ท่าน เขา มัน ใคร ไหน บ้าง นี่
คำสรรพนาม จะทำหน้าที่ในประโยคเหมือนกับคำนาม ดังนี้
2.1 ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น ท่านจะไปไหน มันชอบวิ่งเล่น ใครๆ ก็รักน้องเล็ก ฉันชอบเลี้ยงแมว
2.2 ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค เช่น ฉันจะไปหาเธอ เธอเล่าให้ข้าพเจ้าฟัง เขาไม่ชอบคุณ ฉันพบมันตออยู่
2.1 ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น ท่านจะไปไหน มันชอบวิ่งเล่น ใครๆ ก็รักน้องเล็ก ฉันชอบเลี้ยงแมว
2.2 ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค เช่น ฉันจะไปหาเธอ เธอเล่าให้ข้าพเจ้าฟัง เขาไม่ชอบคุณ ฉันพบมันตออยู่
3. คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการของคน สัตว์ และสิ่งของ เช่น
บิน นอน เห็น ชอบ ตัด เหมือน หัวเราะ คล้าย อาจ ต้อง เป็น วิ่ง
บิน นอน เห็น ชอบ ตัด เหมือน หัวเราะ คล้าย อาจ ต้อง เป็น วิ่ง
คำกริยาจะทำหน้าที่เป็นตัวแสดงอาการ หรือการกระทำของประธานในประโยค เช่น
เก่งวิ่งเร็วมาก พ่อหัวเราะเจ้าโต้ง
กั้งเหมือนกุ้ง เยี่ยวบินเร็วมาก
อาเป็นไข้หวัด เเม่ครัวปรุงอาหาร
เก่งวิ่งเร็วมาก พ่อหัวเราะเจ้าโต้ง
กั้งเหมือนกุ้ง เยี่ยวบินเร็วมาก
อาเป็นไข้หวัด เเม่ครัวปรุงอาหาร
4. คำวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ประกอบคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ด้วยกันเองให้มีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น
สูง เตี้ย ดี ชั่ว กลม แดง เหม็น หอม นุ่ม เร็วน้อย
สูง เตี้ย ดี ชั่ว กลม แดง เหม็น หอม นุ่ม เร็วน้อย
4.1 ทำหน้าที่ขยายคำนาม เช่น ไข่สดอยู่ในตะกร้า คนแก่กินหมาก
4.2 ทำหน้าที่ขยายคำสรรพนาม เช่น เขานั่นแหละเป็ฯคนวาดรูป เราทั้งหมดช่วยกันทำอาหาร
4.3 ทำหน้าที่ขยายคำกริยา เช่น ฉันกินขนมเก่ง พ่อตื่นเช้า
4.4 ทำหนาที่ขยายคำวิเศษณ์ เช่น เธอวิ่งเร็วมาก เขาพูดเสียงดังจริงๆ
4.2 ทำหน้าที่ขยายคำสรรพนาม เช่น เขานั่นแหละเป็ฯคนวาดรูป เราทั้งหมดช่วยกันทำอาหาร
4.3 ทำหน้าที่ขยายคำกริยา เช่น ฉันกินขนมเก่ง พ่อตื่นเช้า
4.4 ทำหนาที่ขยายคำวิเศษณ์ เช่น เธอวิ่งเร็วมาก เขาพูดเสียงดังจริงๆ
5. คำบุพบท คือ คำที่นำหน้าคำนาม คำสรรนาม หรือคำกริยา เพื่อเชื่อมคำข้างหน้า และขยายคำข้างหน้านั้นๆ เพื่อบอกสถานที่ เวลาเเสดงอาการ หรือเเสดงความเป็นเจ้าของ เช่น
ใน ใกล้ บน แก่ แด่ เพื่อ ด้วย กับ สำหรับ ของ แห่ง เพราะ ใต้
ใน ใกล้ บน แก่ แด่ เพื่อ ด้วย กับ สำหรับ ของ แห่ง เพราะ ใต้
คำบุพบททำหน้าที่นำหน้าคำนาม คำสรรพนาม และคำกริยา เพื่อขยายคำๆ นั้น ดังนี้
5.1 ทำหน้าที่นำหน้าคำนาม เช่น หวังเต๊ะ เป็นศิลปินแห่งชาติ เก้าอี้วางอยู่ใกล้ประตู
5.2 ทำหน้าที่นำหน้าคำสรรพนาม เช่น คุณย่าหวังดีต่อเธอ ชุดสีฟ้าอยู่ที่เขา
5.3 ทำหน้าที่นำหน้าคำกริยา เช่น ตะกร้าสำหรับใส่ของ ขนมที่แจกอยู่ทางนั้น
5.1 ทำหน้าที่นำหน้าคำนาม เช่น หวังเต๊ะ เป็นศิลปินแห่งชาติ เก้าอี้วางอยู่ใกล้ประตู
5.2 ทำหน้าที่นำหน้าคำสรรพนาม เช่น คุณย่าหวังดีต่อเธอ ชุดสีฟ้าอยู่ที่เขา
5.3 ทำหน้าที่นำหน้าคำกริยา เช่น ตะกร้าสำหรับใส่ของ ขนมที่แจกอยู่ทางนั้น
6. คำสันธาน คือ คำที่ใช้เชื่อมคำ หรือประโยคเข้าด้วยกัน เช่น
และ พอ...ก็ เเต่ ถึง...ก็ เพราะว่า ถ้า หรือ มิฉะนั้น อนึ่ง ส่วน ราวกับ อย่างไรก็ตาม
และ พอ...ก็ เเต่ ถึง...ก็ เพราะว่า ถ้า หรือ มิฉะนั้น อนึ่ง ส่วน ราวกับ อย่างไรก็ตาม
คำสันธาน มีหน้าที่เชื่อคำกับคำ และประโยคกับประโยค ดังนี้
6.1 เชื่อมคำกับคำ เช่น ลูกกับเเม่ พี่และน้อง
6.2 เชื่อมประโยคกับประโยค เช่น ฉันชอบดื่มนมแต่น้องชอบดื่มน้ำ หวาน คุณพ่อและคุณเเม่ไปทำงาน
6.1 เชื่อมคำกับคำ เช่น ลูกกับเเม่ พี่และน้อง
6.2 เชื่อมประโยคกับประโยค เช่น ฉันชอบดื่มนมแต่น้องชอบดื่มน้ำ หวาน คุณพ่อและคุณเเม่ไปทำงาน
7. คำอุทาน เป็นคำที่แสดงอารมณ์หรือความรู้สึกของผู้พูด หรือผู้เขียนให้มีความหมายหนักเเน่นยิ่งขึ้น ซึ่งคำอุทานที่บอกอารมณ์ หรือความรู้สึกโดยตรง จะมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) กำกับข้างหลัง เช่น
โธ่! โอ๊ย! ว้าย! อ้อ! อุ๊ย! อ้าว! เอ๊ะ! ว้าว!
โธ่! โอ๊ย! ว้าย! อ้อ! อุ๊ย! อ้าว! เอ๊ะ! ว้าว!
คำอุทานที่มีหน้าที่บอกความรู้สึกของคนเรา และเพิ่มน้ำหนักของคำพูดที่ถูกเสริม เช่น ไชโย! ชนะแล้ว (บอกความรู้สึกดีใจ) โอ้โห! เสื้อสวยจัง (บอกความรู้สึกตื่นเต้น)
zy126 replica bags az093
ตอบลบ